วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทที่5 อินเทอร์เน็ต

สรุปการเรียนที่ 5
เรื่อง อินเตอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter และ net
1. อินเทอร์ (Inter) คือ ระหว่าง หรือท่ามกลาง
2. เน็ต (Net) คือ เครือข่าย (Network)

อินเทอร์เน็ต (Internet)
คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก
คือ เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย
คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
คือ เครือข่ายของเครือข่าย

ข้อมูลจากหนังสือดี
+ Internet starter kit (Adam C.Engst | Corwin S. Low | Michael A. Simon)
+ เปิดโลกอินนเทอร์เน็ต (สมนึก คีรีโต | สุรศักดิ์ สงวนพงษ์ | สมชาย นำประเสริฐชัย)
+ User's Basic Guide to the Internet (สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
+ The ABCs of The Internet (Srisakdi Charmonman,Ph.D. ...)
ใช้ข้อมูลจากเว็บหน้านี้ไปอบรมเรื่อง Internet คืออะไร ที่โรงเรียนบุญวาทย์ วิทยาลัย ลำปาง
(หากมีสิ่งใดผิดพลาด หรือไม่ถูกต้อง ขอได้ชี้แนะมายังทีมงาน เราจะรีบตรวจสอบ และแก้ไขในทันที - E-Mail)

ผังแสดงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet)
ความเป็นมา
อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET = Defense Advanced Research Projects Agency Network) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ 1)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจอลิส 2)สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 3)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า และ4)มหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น
ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ TCP/IP เป็นข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกสื่อสารด้วยความเข้าใจบนมาตรฐานเดียวกัน
ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน
ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เริ่มใช้การกำหนดโดเมนเนม (Domain Name) เป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution Database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บไซต์ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ในเครื่องบริการโดเมนเนมหรือไม่ ถ้ามีก็จะตอบกับมาเป็นหมายเลขไอพี ถ้าไม่มีก็จะค้นหาจากเครื่องบริการโดเมนเนมที่ทำหน้าที่แปลชื่ออื่น สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วย .th มีเครื่องบริการที่ thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของโดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด
ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บไซต์ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines: Lynx 1993, Mosaic 1993, Netscape 1994, Opera 1994, IE 1995, Mac IE 1996, Mozilla 1999, Chimera 2002, Phoenix 2002, Camino 2003, Firebird 2003, Safari 2003, MyIE2 2003, Maxthon 2003, Firefox 2004, Seamonkey 2005, Netsurf 2007, Chrome 2008)
ในความเป็นจริงไม่มีใครเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ต และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ ผู้ติดสิน ผู้เสนอ ผู้ทดสอบ ผู้กำหนดมาตรฐานก็คือผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ก่อนประกาศเป็นมาตรฐานต้องมีการทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้นก่อน ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain Name ก็จะยึดตามนั้นต่อไป เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐานอาจต้องใช้เวลา

สรุปบทที่ 3

สรุป คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล บทที่3

 องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
 มีองค์ประกอบพื้นฐาน 5หน่วยได้แก่
1.หน่วยรับเข้า ทำหน้าที่รับข้อมูล หรือคำสั่งต่างๆ จากผู้ใช้ผ่านอุปกรณ์รับข้อมูลซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งเข้าไปประมวลผลต่อไป
2.หน่วยประมวลผลกลาง หรือซีพียูเปรียบเสมือนสมองของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ประมวลผลคำสั่งที่รับเข้าไปซึ่งจะทำงานร่วมกับหน่วยอื่นๆ
3.หน่วยเก็บข้อมูล ทำหน้าที่เก็บข้อมูลแบบถาวรบนคอมพิวเตอร์
4.หน่วยความจำ ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่กำลังประมวล และเป็นที่พักข้อมูลระหว่างที่ซีพียูกำลังประมวลผล
5.หน่วย ส่งออก ทำหน้าที่แสดงหรือส่งข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลจากซีพียูมาให้ผู้ใช้งานรับ ทราบ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของการมองเห็นหรือการส่งเป็นสัญญาณเสียง
กลไกการทำงานของคอมพิวเตอร์
กลไกการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่เกิดจากองค์ประกอบต่างๆ  เริ่มด้วยเมื่อมีการกดปุ่มเครื่องคอมพิวเตอร์  โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่อยู่ในหน่วยความจำหลัก  จะทำการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อมที่จะทำงาน  เมื่อตรวจสอบเสร็จคอมพิวเตอร์จะแสดงให้เห็นว่าพร้อมที่จะทำงาน  ก็จะมีการป้อนคำสั่งหรือโปรแกรมหรือข้อมูลโดยผ่านหน่วยรับข้อมูล  แล้วนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก  ต่อจากนั้น หน่วยประมวลผลกลางก็จะทำการตามคำสั่งของโปรแกรมซึ่งเรียกว่า  การประมวลผล  แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้เก็บไว้ที่ หน่วยความจำ  และจะแสดงผลลัพธ์ผ่านหน่วยแสดงผลเมื่อมีคำสั่งให้แสดงผลลัพธ์
การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงาน
1.งานเอกสาร หรืองานในสำนักงาน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ซีพียูที่มีความเร็วสูง คือประมาณ1GB และอาจเลือกใช้จอภาพแบบLCDขนาดใหญ่ 17-19นิ้ว เพื่อถนอมสายตา
2.งานกราฟฟิก เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานประเภทนี้จำเป็นต้องใช้ซีพียูที่มีความเร็วค่อนข้างสูง ประมาณ2GHz ขึ้นไป ใช้แรมอย่างน้อย 2GBขึ้นไป และมีฮาร์ดดิสก์ความจุสูงเผื่อใช้เก็บข้อมูลจำนวนมาก
3.งานออก แบบที่ต้องแสดงผลเป็น 3มิติ งานประเภทนี้ต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการคำนวณและแสดงภาพ ความละเอียดสูงสุดได้ ดังนั้น ควรเลือกซีพียูที่มีความเร็วสูงไม่น้อยกว่า  2GHz มีแรมอย่างน้อย 4 GB การ์ดแสดงผลที่สามารถแสดงภาพที่มีความละเอียดสูงได้ดีควรใช้จอภาพขนาดไม่ต่ำกว่า 24นิ้ว และควรมีเครื่องสำรองไฟ

การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์

1.ซีพียู มีปัจจัยในการเลือกซื้อดังนี้
-บริษัทผู้ผลิต ในปัจจุบันมีบริษัทผู้ผลิตซีพียูชั้นนำ 2บริษัท คือ บริษัทอินเทล(Intel Corporation)และบริษัทเอเอ็มดี(Advance Micro Devices:AMD)
-ความ เร็วซีพียู ความเร็วของซีพียูขึ้นอยู่กับความถี่สัญญาณนาฬิกา ซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่คอยกำหนดจังหวะการทำงานประสานของวงจรภายในให้สอด คล้องกัน
-หน่วยความจำแคช ควรพิจารณาเลือกซีพียูที่มีหน่วยความจำแคสมาก
-ความ เร็วบัส คือความเร็วในการรับส่งข้อมูลระหว่างซีพียูและอุปกรณ์อื่นๆ ควรพิจารณาซีพียูที่มีความเร็วของบัสสูงและสอดคล้องกับความเร็วของอุปกรณ์ อื่น เช่น เมนบอร์ด และแรม

2.เมนบอร์ด มีปัจจัยในการเลือกซื้อดังนี้
-ซ็อกเกตซีพียู เมนบอร์ดแต่ละรุ่นถูกออกแบบมาให้ใช้กับซีพียูที่มีมาตรฐานของซ็อกเกตเดียวกันเท่านั้น ดังนั้นต้องเลือกรุ่นให้ตรงกัน
-ฟรอน ไซต์บัส เป็นบัสที่เชื่อมต่อระหว่างซีพียูกับหน่วยความจำ บัสนี้เป็นบัสที่มีความเร็วสูงที่สุดบนเมนบอร์ดความถี่ของฟรอนไซต์บัสเป็น ตัวกำหนดอัตราเร็วในการส่งข้อมูลระหว่างซีพียูกับอุปกรณ์อื่นๆ
-สล็อตและหน่วยความจำ ลักษณะของสล็อตความจำนั้นจะแตกต่างกันไปตามรุ่นต้องเลือกให้เหมาะสมกัน
-ช่องสำหรับติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆจำเป็นต้องคำนึงถึงจำนวนและชนิดช่องในการติดตั้งเมนบอร์ดแต่ละรุ่น
-ขั้วต่อ ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ภายในเคส
-พอร์ตเป็นช่องสำหรับหน่วยรับเข้า หน่วยแสดงผลรวมถึงอุปกรณ์สนับสนุน
-มาตรฐาน ของเมนบอร์ดถูกกำหนดอยู่ในรูปของฟอร์มแฟกเตอร์ ซึ่งแสดงถึงขนาดของเมนบอร์ดตำแหน่งของขั้วต่ออุปกรณ์ต่างๆขนาดของเมนบอร์ดจะ ต้องเข้ากันได้กับชนิดเคสที่ใช้

3.แรม มีปัจจัยในการเลือกซื้อดังนี้
-ประเภท ซื้อให้ตรงกับสลอตหน่วยความจำบนเมนบอร์ด
-ความจุ ถ้าใช้งานด้านกราฟฟิกหรือมัลติมีเดียระดับสูง จะใช้แรมที่มีความจุสูงตามไปด้วย
-ความเร็ว ต้องเลือกความเร็วของแรมให้สอดคล้องกับความเร็วบัสของเมนบอร์ดด้วย และเลือกให้เหมาะกับการใช้งาน

4.ฮาร์ดดิสก์ มีปัจจัยในการเลือกซื้อดังนี้
-การเชื่อมต่อ มาตรฐานการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้งานอยู่ในพีซีปัจจุบัน ใช้มาตรฐานEIDEและ SATA
-ความจุข้อมูล มีหน่วยเป็น กิกะไบต์หรือเทระไบต์ ซึ่งขนาดความจุของข้อมูลของฮาร์ดดิสก์นั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งาน
-ความเร็วรอบ ฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วรอบสูงจะทำให้มีอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลสูง
5.การ์ดแสดงผล มีปัจจัยการเลือกซื้อดังนี้
-ชิปประมวลผลกราฟฟิก หรือจีพียู
-การเชื่อมต่อ
-ความจุของหน่วยความจำบนการ์ด
6.ออปติคัลดิสก์ไดรฟ์ มีปัจจัยในการเลือกซื้อดังนี้
-ซีดีไดร์ฟ
-ดีวีดีไดร์ฟ
-ซีดีอาร์ดับบลิวไดรฟ์
-คอมโบไดรฟ์
-ดีวีดีอาร์ดับบลิวไดร์ฟ

7.เคส มีหลักในการเลือกซื้อคือ
-มีช่องระบายอากาศและระบบระบายความร้อน
-มีพื้นที่หรือช่องที่จะเพิ่มอุปกรณ์ได้
-ลักษณะของเคส

8.จอภาพ มีปัจจัยในการเลือกซื้อดังนี้
-ความละเอียดของภาพ
-ขนาด

การรับประกันอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์มีการรับประกันอายุการใช้งานแตกต่างกัน โดยอายุของการรับประกันที่นานขึ้นอาจจะทำให้ราคาสูงขึ้น บนอุปกรณ์บางชนิดจะมีสติ๊กเกอร์รับประกันติดอยู่ หากมีการฉีกขาดการรับประกันจะสิ้นสุดลงจึงควรระวังในการเลือกซื้อ
 ข้อแนะนำการดูแลอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
-ไม่เปิดฝาเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่จำเป็น
-ไม่ตั้งคอมพิวเตอร์ไว้ในที่มีอุณหภูมิสูง
-ไม่วางคอมพิวเตอร์ไว้ใกล้สนามแม่เหล็ก
-ไม่วางของเหลวไว้ใกล้เครื่อง
-ไม่ปิดเครื่องโดยการปิดสวิตช์
-ควรตั้งโหมดประหยัดพลังงานให้กับเครื่อง


วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สรุปบทที่4

สรุปบทการเรียน ที่ 4ระบบเครื่อข่ายและการสื่อสาร
บทบาทของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การติดต่อสื่อสารข้อมูลสมัยใหม่นี้ มีรากฐานมาจากความพยายามในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ โดยอาศัยระบบสื่อสารที่มีอยู่แล้ว เช่นโทรศัพท์ ดังนั้น การสื่อสารข้อมูลจึงอยู่ในขอบเขตที่จำกัด ต่อมามีการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น ความต้องการในการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์หลายเครื่องในเวลาเดียวกันเรียกว่า ระบบเครือข่าย         (Network system) จึงได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นตามลำดับ ในตอนเริ่มต้นของยุคสื่อสารเมื่อประมานปี พ.ศ. 2513 – 2515 ความต้องการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกันมีมากขึ้น แต่คอมพิวเตอร์ยังมีราคาสูงมาก เมื่อเทียบกับอุปกรณ์สื่อสารที่มีอยู่แล้วบางอย่าง การสื่อสารด้วยระบบเครือข่ายในระยะนั้นจึงเน้นการใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์เป็นผู้ให้บริการ โดยผู้ใช้สามารถติดต่อผ่านเครื่องปลายทางเพื่อประหยัดค่าใช่จ่ายของระบบต่อมาเมื่อถึงยุคของไมโครคอมพิวเตอร์ พบว่าขีดความสามารถในด้านความเร็วของการทำงานในคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ มีความเร็วมากกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ประมาน 10 เท่า แต่ราคาแพงกว่าหลายพันเท่า ทำให้การใช้ไมโครคอมพิวเตอร์แพร่หลายและกระจายออกไป การสื่อสารจึงกลายเป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องแทนที่จะเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่กับเครื่องปลายทางแบบกระจายลักษณะของ เครือข่ายจึงเริ่มจากจุดเล็กๆ อาจจะอยู่บนแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์เดียวกันขยายตัวใหญ่ขึ้นเป็นทั้งระบบที่ทำ งานร่วมกันในห้องทำงาน ในตึก ระหว่างตึก ระหว่างสถาบัน ระหว่างเมือง ระหว่างประเทศ


การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ภายในอาคาร

ข้อมูลในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่เก็บในคอมพิวเตอร์สามารถส่งต่อคัดลอกจัดพิมพ์ ทำสำเนาได้ง่าย เมื่อเทียบกับการคัดเลือกด้วยมือซึ่งต้องใช้เวลามากและเสี่ยงต่อการทำข้อมูลผิดพลาดอีกด้วยวิธีการทางด้านการสื่อสารข้อมูลกำลงได้รับการนำมาประยุกต์ใช้ในระบบสำนักงานที่เรียกว่า ระบบสำนักงานอัตโนมัติ เป็นระบบที่ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเอกสารทั่วไป แล้วส่งไปยังหน่วยต่างๆ ด้วยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อโอนย้ายแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ระหว่างแผนกซึ่งอาจตั้งอยู่ภายในอาคารเดียวกันหรือไกลกันคนละเมืองก็ได้ โดยการส่งข้อมูลข่าวสารเช่นนี้ต้องเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายประเภทที่สามารถผนวกเข้าหากันเป็นระบบเดียวได้ อุปกรณ์เหล่านั้นอาจเป็นโทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์เครือข่ายซึ่งนักเรียนจะได้เรียนต่อไป บทบาทที่สำคัญอีกบทบาทหนึ่งของการสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่าย คือ การให้บริการข้อมูล หลายประเทศจัดให้มีฐานข้อมูลไว้บริการ เช่น ฐานข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ฐานข้อมูลงานวิจัย ฐานข้อมูลทางเศรษฐกิจ ฐานข้อมูลของสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคในมหาวิทยาลัยอาจมีข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือและตำราวิชาการ หากผู้ใช้ต้องการข้อมูลใดก็สามารถติดต่อมายังศูนย์บริการข้อมูลนั้น การติดต่อจะผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้การได้รับข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็วความสำคัญของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จึงเป็นสิ่งที่ตระหนักกันอยู่เสมอ
                           
                               การติดต่อสื่อสารที่กระจายไปทั่วโลกในยุคสารสนเทศ

ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล
1)การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึกที่มีความหนาแน่นสูง แผ่นบันทึกแผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้น ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ด้วยอัตรา120 ตัวอักษรต่อวินาทีแล้ว จะส่งข้อมูล 200 หน้าได้ในเวลา 40 นาที โดยที่ไม่ต้องเสียเวลามานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก
2)ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติเมื่อมีการส่งข้อมูลด้วยสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์จากจุดหนึ่งไปยังจุดอื่นด้วยระบบดิจิตอล วิธีการรับส่งนั้นจะมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูล หากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้และพยายามหาวิธีการแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่ หรือกรณีที่ผิดพลาดไม่มากนัก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้
3)ความเร็วของการทำงาน โดยปกติสัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง หรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้รวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบจะทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายอย่างยิ่ง เช่น บริษัทสายการบินทุกแห่งสามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจองที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที
4)ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าหากันเป็นเครือข่าย เพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูล ทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลประหยัดขึ้น เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น เราสามารถส่งข้อมูลให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ข้อมูล สารสนเทศและความรู้

             บทที่2 เรื่อง ข้อมูล สารสนเทศและความรู้
2.1 ข้อมูล สารสนเทศและความรู้
  data = ข้อมูล
       ข้อมูล คือ ชุดของข้อเท็จจริงเชิงวัตถุสามารถมองเห็นได้ เมื่อใช้กับหน่วยงานราชการ คำว่าข้อมูลหมายถึง บันทึกกิจกรรมทางราชการ เช่น มีผู้มาติดต่อราชการ เพื่อ ขออนุญาต ขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ข้อมูล เราสามารถบอกได้ว่า ผู้ประกอบการจะผลิตอะไร มีส่วนประกอบอะไร สถานที่ผลิตตั้งอยู่ที่ไหน เลขทะเบียนที่ ได้รับ คือหมายเลขอะไร
  Information = สารสนเทศ
       สารสนเทศ หมายถึง สาส์นชนิดหนึ่ง ซึ่งองค์ประกอบที่สำคัญจะประกอบด้วย ผู้ส่งสาส์นและผู้รับสาส์น ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการสื่อหากัน เช่นต้องการเปลี่ยนแปลง ผู้รับสาส์น อาทิเช่น สารสนเทศ เรื่องสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นผลมาจากการวิเคราะห์ข้อมูลการตรวจสถานที่ผลิตอาหาร และมีการให้คะแนนตามเกณฑ์มาตร ฐานที่ตั้งไว้ อย่างนี้เรียกว่าเป็นสารสนเทศ ซึ่งสารสนเทศ จะเป็นส่วนของข้อมูลที่มีความสำคัญนั่นเอง
     

                           

  Knowledge = ความรู้
       ความรู้ คือ กรอบของการประสมประสานระหว่าง ประสบการณ์ ค่านิยม และความรอบรู้บริบท และความรู้แจ้งอย่างช่ำชอง เป็นการประสมประสานที่ให้กรอบของ การประเมินค่า และการนำเอาประสบการณ์และสารสนเทศใหม่ๆ มาผสมเข้าด้วยกัน

       เราอาจจะทำความเข้าใจง่ายๆ ดังนี้ ในแต่ละวันที่เราทำงาน จะเกิดข้อมูลใหม่ๆ ขึ้นทุกวัน ซึ่งข้อมูลที่เกิดขึ้นนี้ เราก็จะมีการจัดเก็บ ไว้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งเก็บไว้บนแผ่น กระดาษ และในคอมพิวเตอร์ ในรูปแบบอิเลคทรอนิค (electronic data) เมื่อดำเนินงานไปเป็นเวลานานมากขึ้น นำข้อมูลมาสรุป ก็สามารถจะสรุปผลออกมาเป็นข้อมูลที่มี ความสำคัญ เช่น มีการจัดหมวดหมู่ ของประเภทอาหารที่ผลิต หรือถ้าเป็น สถานพยาบาลก็เป็นการจัดลำดับของการเจ็บป่วยของผู้มารับบริการอย่างนี้ เรียกว่า เริ่มจะเป็นสารสนเทศ แต่สิ่วสำคัญมากขึ้นมาอีกคือ ความรู้ (knowledge) ความรู้คืออะไร ความรู้เกิดขึ้นเมื่อใด จากสารสนเทศที่มีอยู่ สารสนเทศ เริ่มเมื่อ แต่ละปี การเกิดโรค แตกต่างกัน การแก้ไขปัญหา ด้วนวิธีการเดิมไม่ได้ผล คนในหน่วยงานเริ่มเรียนรู้วิธีการทำงานใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหา เมื่อนั้นเป็นการเริ่มเกิดความรู้ขึ้น

                            
        ปัญหาในเรื่องนี้คือ อะไร
       ปัญหาอยู่ที่วันนี้หลายๆ หน่วยงานเวลาประชุมกรรมการข้อมูลข่าวสาร เนื้อหาในการประชุม คือเรื่องของ ข้อมูล พูดง่ายๆ ก็คือ เอาตัวเลขมาประชุม ครั้งต่อมาก็เอาตัวเลข มาประชุม อีก ไปไม่ถึงสารสนเทศเลยสักครั้ง แต่ที่เลวร้ายกว่านั้นก็คือ การพัฒนาสารสนเทศของหน่วยงานหลายๆ แห่ง กลับไปสนใจที่เทคโนโลยี (Information Technology) มีการลงทุนอย่างขนานใหญ่ ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในสำนักงาน แต่ระบบสารสนเทศ(Information System) กลับไม่ไปไหนมาไหน ดังนั้น แล้ว วันนี้เราจึงจำเป็นต้องเข้าใจเรื่องของสารสนเทศให้มากขึ้น ไม่อย่างนั้นแล้วเราจะตกเป็นทาสของเทคโนโลยี จนไม่สามารถถอนตัวได้ เรียกว่า ทำงานไม่เป็นเลยในวันที่ ไฟดับ เพราะเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานไม่ได้
       ทางออกของการแก้ปัญหาในเรื่องสารสนเทศ อยู่ที่ การวิเคราะห์ระบบ การวิเคราะห์สภาพปัญหาขององค์กร เพื่อให้มองเห็นภาพองค์กร ที่สำคัญ เอาประชาชน เป็นตัวตั้ง โดยเฉพาะหน่วยงานราชการ จะต้องเอาประชาชน ตั้งไว้เป็นเป้าหมาย สารสนเทศที่ต้องการพัฒนา ก็คือ สารสนเทศที่ประชาชน จะได้ประโยชน์สูงสุดนั่นเอง ไม่ใช่ สารสนเทศ ที่ผู้บริหารได้ประโยชน์
       อีกอย่างหนึ่งการลงทุนควรจะหันไปให้ความสำคัญกับการลงทุนทางด้านบุคคล (people ware) ส่งคนในหน่วยงานไปอบรมเพิ่มความรู้ เรื่องสารสนเทศ ให้มากขึ้น จัดให้มีเวทีการประชุม ด้านสารสนเทศ อย่างเปิดกว้าง ให้มีการนำเสนอผลงานการพัฒนาสารสนเทศขององค์กร อย่างต่อเนื่อง
       ความรู้สำคัญ แต่ไม่ค่อยมีใครให้ความสำคัญ
       การจะจัดการกับสารสนเทศที่มีขององค์กร อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ต้องอาศัยองค์ความรู้ (knowledge) เข้ามาจัดการ ดังนั้น ความรู้ จึงจะต้องหามา แล้วจะหามา จากไหน หลายหน่วยงานใช้วิธีการจ้างบุคคลภายนอกมาให้ความรู้ นานเข้านานเข้าไม่มีงบประมาณก็เลิกจ้าง การพัฒนาก็ไม่ต่อเนื่อง
       สิ่งที่องค์กรต่างๆ ไม่เคยทำ หรือให้ความสำคัญน้อยก็คือ ความรู้ที่มีอยู่ในบุคลากร ภายในองค์กร ไม่ค่อยได้ถูกนำออกมาใช้ เริ่มจาก เรื่องบางอย่างคนในองค์กร น่าจะพัฒนา หรือเป็นวิทยากรเองได้ แต่กลับไม่ใช้งานคนในองค์กร กำลังใจในการพัฒนางานก็ไม่มี นี่หละคือ เรื่องของสมองไหล ที่เคยฮิตกัน
       ทุกปีที่เราทำงาน เราเกิดความรู้ใหม่ขึ้นตลอดเวลา คำถามมีอยู่ว่า ความรู้ที่แต่ละคนในองค์กรได้รับหายไปไหน ทำไมทุกครั้งที่จะแก้ปัญหา เดิมๆ เราต้องประชุม ระดมสมอง กันใหม่ตลอด คำตอบก็คือ วันนี้ เราต้องมาคุยกันอย่างจริงๆ จังๆ ในเรื่องของการจัดการความรู้ (Knowledge Management) จัดเก็บ รวบรวม ประมวลผล นำเสนอ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไข พัฒนาระบบ การนำเสนอ การใช้ข้อมูลข่าวสารร่วมกัน นี่คือ เรื่องของการจัดการความรู้
       วันนี้เรืองของการจัดการความรู้บ้านเมืองอื่นเขาให้ความสำคัญกันมาก แต่หน่วยงานในบ้านเรา ประเทศไทย ยังไม่ไปถึงไหน ยังคุยกันในวงแคบ วิธีคิดต่างๆ ก็แคบๆ ไม่ไปไหนมาไหน ท่านที่สนใจในเรื่องนี้ มีเว็บไซต์ ในอินเตอร์เนต จำนวนมากที่เขาเตรียมข้อมูลไว้ให้ศึกษา ลองเข้าไปตาม search engine แล้ว key คำว่า KM หรือ Knowledge Management รับรองท่านจะได้ที่อยู่เว็บไซต์ จำนวนมาก แทบจะอ่านไม่หมด
       ที่เขียนเรื่องนี้ให้ทุกท่านอ่านก็เพื่อจะได้เข้าใจได้ถูกต้องถึงสิ่งที่ท่านกำลังปฏิบัติอยู่ จะได้ปรับเปลี่ยนไปในทิศทางที่เหมาะสมได้ เช่น หน่วยงานไหนที่ยังวนอยู่กับข้อมูล ก็จะต้องเริ่มมองหาวิธีหารคิด สารสนเทศ ใคร ยังไม่เคยว่าเรื่องของการจัดการความรู้ก็จะต้องดำเนินการได้แล้ว

                               



2.2การจัดการความรู้
ในการบริหารองค์กร สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแต่ไม่สามารถประเมินคุณค่าเป็นตัวเงินได้ 
2.3ลักษณะของข้อมูลที่ดี
1.ความถูกต้องของข้อมูล
2.ความสมบูรณ์ครบถ้วนในการนำไปใช้งาน
3.ความถูกต้องตามเวลา
4.ความสอดคล้องกันของข้อมูล
2.4การจัดเก็บข้อมูล
-การจัดเก็บอย่างมีประสิทธิภาพ
-การตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างรวดเร็ว
-การกำจักสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลให้แก่ผู้ใช้ในแต่ละระดับขององค์กร
2.4.1ลำดับชั้นของข้อมูลในฐานข้อมูล
1.เขตข้อมูล
2.ระเบียน
3.ตาราง
4.ฐานข้อมูล
2.5จริยธรรมในโลกของข้อมูล
2.5.1ความเป็นส่วนตัว
2.5.2สิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล
2.5.3ทรัพย์สินทางปัญญา
                                  

                             
                                             


วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สรุป บทเรียนบทที่1
 เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ สรุปเทคโนโลยี คือ วิธีการสร้างมูลค่าเพิ่มของสิ่งต่าง ๆ สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับความจริงของคน สัตว์ สิ่งของที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ที่ได้รับการจัดเก็บรวบรวม ประมลผล เรียกค้น และสื่อสารระหว่างกันนำมาให้เกิดประโยชน์ได้
                                
    เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) : IT) หมายถึง การนำวิทยาการที่ก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ในการรวบรวม จัดเก็บใช้งานส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ ในการจัดการสารสนเทศได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้างขั้นตอนวิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับข้อมูล บุคลากร และกรรมวิธีการดำเนินงาน เพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด
    สรุป เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นเทคโนโลยีที่ครอบคลุมเรื่องเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล ซึ่งได้แก่การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์การติดต่อสื่อสารระหว่างกันด้วยความรวดเร็ว การจัดการข้อมูลรวมถึงวิธีการที่จะใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ประวัติของเทคโนยีลีสารสนเทศ
    ดังได้กล่าวในตอนต้นว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเกิดจากการรวมกันของสองเทคโนโลยี คือ เทคโนโลยีโทรคมนาคมกั้บเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การศึกษาประวัติของเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงย้อนกลับไปพิจารณาพัฒนาการของเทคโนโลยีโทรคมนาคมและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
    จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีโทรคมนาคมคือการประดิษฐ์โทรเลขของแซมมวล  มอริส (Samual Morse) ในปี พ.ศ. 2380 ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่ข่าวสารถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตารมสายเป็นระยะทางไกล ๆ ได้ โดยอาศัยวิธีการเข้ารหัสตัวอักษรเป็นรหัสที่ประกอบด้วยจุด (.) และขีด (-) เช่น สัญญาณขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน SOS จะเข้ารหัสเป็น ….---…. การรับส่งโทรเลขได้ถูกนำมาใช้งานในเชิงการค้าตั้งแต่ พ.ศ. 2387  และในปี พ.ศ. 2401 ได้มีการวางสายเคเบิลใต้มหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้เกิดการสื่อสารข้ามทวีประหว่างทวีปอเมริกากับทวีปยุโรปขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2419 อเล็กซานเตอร์ แกรเฮม เบลล์ ประดิษฐ์โทรศัพท์ขึ้น และได้ตั้งชุมสายโทรศัพท์แห่งแรกที่เมืองนิวเฮเวนรัฐคอนเนตทิคัตสหรัฐอเมริกา
    ในเวลา 6 ปีต่อมานั้นเครือข่ายโทรศัพท์ได้ขยายตัวออกไปอย่างรวดเร็วจนในปัจจุบันทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ด้วยระบบโทรศัพท์ทางไกลอัตโนมัติ นับเป็นพัฒนาการอันยิ่งใหญ่ด้านเทคโนโลยีเครือข่ายโทรคมนาคม 
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
    การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความเป็นอยู่ของมนุษย์เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังช่วง พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมมีมากขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาด้านการสื่อสาร รวมถึงโทรศัพท์ไร้สายทำให้ชีวิตความเป็นอยู่และกิจวัตรประจำวันของเราเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก มนุษย์ได้รับความสะดวกสบายและประสบความสำเร็จในงานด้านต่าง ๆ เช่น งานธุรกิจ เทคโนโลยีทางการแพทย์ เทคโนโลยีการผลิตสินค้าเทคโนโลยีด้านอวกาศ และพาณิชยกรรม เป็นต้น
    โดยเฉพาะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่ง ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ จึงเป็นที่มาของคำว่า “เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร” (Information and Communication Technology) หรือเรียกย่อ ว่า ICT
    เทคโนโยลีสารสนเทศและการสื่อสารคือเทคโนโลยีที่ใช้จัดการกับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นสามารถถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ และสามารถส่งไปยังที่ต่าง ๆ ได้ตามต้องการอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในที่นี้จึงหมายถึงความรู้และวิธีการนำความรู้ไปใช้ ส่วนผลิตของเทคโนโลยีซึ่งทำให้เกิดการทำงานที่เราต้องการนั้น เราเรยกว่า ระบบ (system)

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ
    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 ให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) จัดตั้งสำนักงานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ (สบทร.) (Government Information Technology Services : GITS) ขึ้นเพื่อให้บริการด้านการสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยความเร็วสูง สนับสนุนการทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอิสระ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการบริหารงานภายในและการให้บริการแก่ประชาชน โดยประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
    ซึ่งปัจจุบันมีหลายหน่วยงานของราชการจัดทำรายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ ให้บริการผ่านเว็บไซต์ได้ เช่นการให้บริการของสำนักงานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ โดยมีผู้บริการ (Uninversal Resource Locator หรือ URL คือ http://www.gits.net.th หรือ การให้บริการของกระทรวงศึกษธิการที่ http://wwwmoe.go.th  นอกจากนี้ยังมีอีกหลายหน่วยงานที่สามารถให้บริการเช่นเดียวกันในขณะเดียวกันภาคเอกชนต่าง ๆ หรือองค์กรอิสระที่เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต่างก็ให้ความสำคัญในการนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้งน
    เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2545 ได้มีการจัดตั้งกระทรวงใหม่ที่ดูแลและรับผิดชอบทางด้านนโยบายการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารของประเทศคือ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งทำให้กิจกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศในไทยก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ    
มี 5 องค์ประกอบ  ได้แก่  ฮาร์ดแวร์   ซอฟต์แวร์   ข้อมูล บุคลากร  และขั้นตอนการปฏิบัติงาน
       ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง
       ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
       ข้อมูล เป็นส่วนที่จะนำไปจัดเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์
       บุคลากรเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์
       ขั้นตอนการปฏิบัติงาน เป็นสิ่งที่จะต้องเข้าใจเพื่อให้ทำงานได้ถูกต้องเป็นระบบ