วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ข้อมูล สารสนเทศและความรู้

             บทที่2 เรื่อง ข้อมูล สารสนเทศและความรู้
2.1 ข้อมูล สารสนเทศและความรู้
  data = ข้อมูล
       ข้อมูล คือ ชุดของข้อเท็จจริงเชิงวัตถุสามารถมองเห็นได้ เมื่อใช้กับหน่วยงานราชการ คำว่าข้อมูลหมายถึง บันทึกกิจกรรมทางราชการ เช่น มีผู้มาติดต่อราชการ เพื่อ ขออนุญาต ขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ข้อมูล เราสามารถบอกได้ว่า ผู้ประกอบการจะผลิตอะไร มีส่วนประกอบอะไร สถานที่ผลิตตั้งอยู่ที่ไหน เลขทะเบียนที่ ได้รับ คือหมายเลขอะไร
  Information = สารสนเทศ
       สารสนเทศ หมายถึง สาส์นชนิดหนึ่ง ซึ่งองค์ประกอบที่สำคัญจะประกอบด้วย ผู้ส่งสาส์นและผู้รับสาส์น ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการสื่อหากัน เช่นต้องการเปลี่ยนแปลง ผู้รับสาส์น อาทิเช่น สารสนเทศ เรื่องสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นผลมาจากการวิเคราะห์ข้อมูลการตรวจสถานที่ผลิตอาหาร และมีการให้คะแนนตามเกณฑ์มาตร ฐานที่ตั้งไว้ อย่างนี้เรียกว่าเป็นสารสนเทศ ซึ่งสารสนเทศ จะเป็นส่วนของข้อมูลที่มีความสำคัญนั่นเอง
     

                           

  Knowledge = ความรู้
       ความรู้ คือ กรอบของการประสมประสานระหว่าง ประสบการณ์ ค่านิยม และความรอบรู้บริบท และความรู้แจ้งอย่างช่ำชอง เป็นการประสมประสานที่ให้กรอบของ การประเมินค่า และการนำเอาประสบการณ์และสารสนเทศใหม่ๆ มาผสมเข้าด้วยกัน

       เราอาจจะทำความเข้าใจง่ายๆ ดังนี้ ในแต่ละวันที่เราทำงาน จะเกิดข้อมูลใหม่ๆ ขึ้นทุกวัน ซึ่งข้อมูลที่เกิดขึ้นนี้ เราก็จะมีการจัดเก็บ ไว้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งเก็บไว้บนแผ่น กระดาษ และในคอมพิวเตอร์ ในรูปแบบอิเลคทรอนิค (electronic data) เมื่อดำเนินงานไปเป็นเวลานานมากขึ้น นำข้อมูลมาสรุป ก็สามารถจะสรุปผลออกมาเป็นข้อมูลที่มี ความสำคัญ เช่น มีการจัดหมวดหมู่ ของประเภทอาหารที่ผลิต หรือถ้าเป็น สถานพยาบาลก็เป็นการจัดลำดับของการเจ็บป่วยของผู้มารับบริการอย่างนี้ เรียกว่า เริ่มจะเป็นสารสนเทศ แต่สิ่วสำคัญมากขึ้นมาอีกคือ ความรู้ (knowledge) ความรู้คืออะไร ความรู้เกิดขึ้นเมื่อใด จากสารสนเทศที่มีอยู่ สารสนเทศ เริ่มเมื่อ แต่ละปี การเกิดโรค แตกต่างกัน การแก้ไขปัญหา ด้วนวิธีการเดิมไม่ได้ผล คนในหน่วยงานเริ่มเรียนรู้วิธีการทำงานใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหา เมื่อนั้นเป็นการเริ่มเกิดความรู้ขึ้น

                            
        ปัญหาในเรื่องนี้คือ อะไร
       ปัญหาอยู่ที่วันนี้หลายๆ หน่วยงานเวลาประชุมกรรมการข้อมูลข่าวสาร เนื้อหาในการประชุม คือเรื่องของ ข้อมูล พูดง่ายๆ ก็คือ เอาตัวเลขมาประชุม ครั้งต่อมาก็เอาตัวเลข มาประชุม อีก ไปไม่ถึงสารสนเทศเลยสักครั้ง แต่ที่เลวร้ายกว่านั้นก็คือ การพัฒนาสารสนเทศของหน่วยงานหลายๆ แห่ง กลับไปสนใจที่เทคโนโลยี (Information Technology) มีการลงทุนอย่างขนานใหญ่ ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในสำนักงาน แต่ระบบสารสนเทศ(Information System) กลับไม่ไปไหนมาไหน ดังนั้น แล้ว วันนี้เราจึงจำเป็นต้องเข้าใจเรื่องของสารสนเทศให้มากขึ้น ไม่อย่างนั้นแล้วเราจะตกเป็นทาสของเทคโนโลยี จนไม่สามารถถอนตัวได้ เรียกว่า ทำงานไม่เป็นเลยในวันที่ ไฟดับ เพราะเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานไม่ได้
       ทางออกของการแก้ปัญหาในเรื่องสารสนเทศ อยู่ที่ การวิเคราะห์ระบบ การวิเคราะห์สภาพปัญหาขององค์กร เพื่อให้มองเห็นภาพองค์กร ที่สำคัญ เอาประชาชน เป็นตัวตั้ง โดยเฉพาะหน่วยงานราชการ จะต้องเอาประชาชน ตั้งไว้เป็นเป้าหมาย สารสนเทศที่ต้องการพัฒนา ก็คือ สารสนเทศที่ประชาชน จะได้ประโยชน์สูงสุดนั่นเอง ไม่ใช่ สารสนเทศ ที่ผู้บริหารได้ประโยชน์
       อีกอย่างหนึ่งการลงทุนควรจะหันไปให้ความสำคัญกับการลงทุนทางด้านบุคคล (people ware) ส่งคนในหน่วยงานไปอบรมเพิ่มความรู้ เรื่องสารสนเทศ ให้มากขึ้น จัดให้มีเวทีการประชุม ด้านสารสนเทศ อย่างเปิดกว้าง ให้มีการนำเสนอผลงานการพัฒนาสารสนเทศขององค์กร อย่างต่อเนื่อง
       ความรู้สำคัญ แต่ไม่ค่อยมีใครให้ความสำคัญ
       การจะจัดการกับสารสนเทศที่มีขององค์กร อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ต้องอาศัยองค์ความรู้ (knowledge) เข้ามาจัดการ ดังนั้น ความรู้ จึงจะต้องหามา แล้วจะหามา จากไหน หลายหน่วยงานใช้วิธีการจ้างบุคคลภายนอกมาให้ความรู้ นานเข้านานเข้าไม่มีงบประมาณก็เลิกจ้าง การพัฒนาก็ไม่ต่อเนื่อง
       สิ่งที่องค์กรต่างๆ ไม่เคยทำ หรือให้ความสำคัญน้อยก็คือ ความรู้ที่มีอยู่ในบุคลากร ภายในองค์กร ไม่ค่อยได้ถูกนำออกมาใช้ เริ่มจาก เรื่องบางอย่างคนในองค์กร น่าจะพัฒนา หรือเป็นวิทยากรเองได้ แต่กลับไม่ใช้งานคนในองค์กร กำลังใจในการพัฒนางานก็ไม่มี นี่หละคือ เรื่องของสมองไหล ที่เคยฮิตกัน
       ทุกปีที่เราทำงาน เราเกิดความรู้ใหม่ขึ้นตลอดเวลา คำถามมีอยู่ว่า ความรู้ที่แต่ละคนในองค์กรได้รับหายไปไหน ทำไมทุกครั้งที่จะแก้ปัญหา เดิมๆ เราต้องประชุม ระดมสมอง กันใหม่ตลอด คำตอบก็คือ วันนี้ เราต้องมาคุยกันอย่างจริงๆ จังๆ ในเรื่องของการจัดการความรู้ (Knowledge Management) จัดเก็บ รวบรวม ประมวลผล นำเสนอ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไข พัฒนาระบบ การนำเสนอ การใช้ข้อมูลข่าวสารร่วมกัน นี่คือ เรื่องของการจัดการความรู้
       วันนี้เรืองของการจัดการความรู้บ้านเมืองอื่นเขาให้ความสำคัญกันมาก แต่หน่วยงานในบ้านเรา ประเทศไทย ยังไม่ไปถึงไหน ยังคุยกันในวงแคบ วิธีคิดต่างๆ ก็แคบๆ ไม่ไปไหนมาไหน ท่านที่สนใจในเรื่องนี้ มีเว็บไซต์ ในอินเตอร์เนต จำนวนมากที่เขาเตรียมข้อมูลไว้ให้ศึกษา ลองเข้าไปตาม search engine แล้ว key คำว่า KM หรือ Knowledge Management รับรองท่านจะได้ที่อยู่เว็บไซต์ จำนวนมาก แทบจะอ่านไม่หมด
       ที่เขียนเรื่องนี้ให้ทุกท่านอ่านก็เพื่อจะได้เข้าใจได้ถูกต้องถึงสิ่งที่ท่านกำลังปฏิบัติอยู่ จะได้ปรับเปลี่ยนไปในทิศทางที่เหมาะสมได้ เช่น หน่วยงานไหนที่ยังวนอยู่กับข้อมูล ก็จะต้องเริ่มมองหาวิธีหารคิด สารสนเทศ ใคร ยังไม่เคยว่าเรื่องของการจัดการความรู้ก็จะต้องดำเนินการได้แล้ว

                               



2.2การจัดการความรู้
ในการบริหารองค์กร สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแต่ไม่สามารถประเมินคุณค่าเป็นตัวเงินได้ 
2.3ลักษณะของข้อมูลที่ดี
1.ความถูกต้องของข้อมูล
2.ความสมบูรณ์ครบถ้วนในการนำไปใช้งาน
3.ความถูกต้องตามเวลา
4.ความสอดคล้องกันของข้อมูล
2.4การจัดเก็บข้อมูล
-การจัดเก็บอย่างมีประสิทธิภาพ
-การตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างรวดเร็ว
-การกำจักสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลให้แก่ผู้ใช้ในแต่ละระดับขององค์กร
2.4.1ลำดับชั้นของข้อมูลในฐานข้อมูล
1.เขตข้อมูล
2.ระเบียน
3.ตาราง
4.ฐานข้อมูล
2.5จริยธรรมในโลกของข้อมูล
2.5.1ความเป็นส่วนตัว
2.5.2สิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล
2.5.3ทรัพย์สินทางปัญญา
                                  

                             
                                             


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น