วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทที่5 อินเทอร์เน็ต

สรุปการเรียนที่ 5
เรื่อง อินเตอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter และ net
1. อินเทอร์ (Inter) คือ ระหว่าง หรือท่ามกลาง
2. เน็ต (Net) คือ เครือข่าย (Network)

อินเทอร์เน็ต (Internet)
คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก
คือ เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย
คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
คือ เครือข่ายของเครือข่าย

ข้อมูลจากหนังสือดี
+ Internet starter kit (Adam C.Engst | Corwin S. Low | Michael A. Simon)
+ เปิดโลกอินนเทอร์เน็ต (สมนึก คีรีโต | สุรศักดิ์ สงวนพงษ์ | สมชาย นำประเสริฐชัย)
+ User's Basic Guide to the Internet (สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
+ The ABCs of The Internet (Srisakdi Charmonman,Ph.D. ...)
ใช้ข้อมูลจากเว็บหน้านี้ไปอบรมเรื่อง Internet คืออะไร ที่โรงเรียนบุญวาทย์ วิทยาลัย ลำปาง
(หากมีสิ่งใดผิดพลาด หรือไม่ถูกต้อง ขอได้ชี้แนะมายังทีมงาน เราจะรีบตรวจสอบ และแก้ไขในทันที - E-Mail)

ผังแสดงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet)
ความเป็นมา
อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET = Defense Advanced Research Projects Agency Network) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ 1)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจอลิส 2)สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 3)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า และ4)มหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น
ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ TCP/IP เป็นข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกสื่อสารด้วยความเข้าใจบนมาตรฐานเดียวกัน
ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน
ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เริ่มใช้การกำหนดโดเมนเนม (Domain Name) เป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution Database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บไซต์ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ในเครื่องบริการโดเมนเนมหรือไม่ ถ้ามีก็จะตอบกับมาเป็นหมายเลขไอพี ถ้าไม่มีก็จะค้นหาจากเครื่องบริการโดเมนเนมที่ทำหน้าที่แปลชื่ออื่น สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วย .th มีเครื่องบริการที่ thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของโดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด
ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บไซต์ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines: Lynx 1993, Mosaic 1993, Netscape 1994, Opera 1994, IE 1995, Mac IE 1996, Mozilla 1999, Chimera 2002, Phoenix 2002, Camino 2003, Firebird 2003, Safari 2003, MyIE2 2003, Maxthon 2003, Firefox 2004, Seamonkey 2005, Netsurf 2007, Chrome 2008)
ในความเป็นจริงไม่มีใครเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ต และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ ผู้ติดสิน ผู้เสนอ ผู้ทดสอบ ผู้กำหนดมาตรฐานก็คือผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ก่อนประกาศเป็นมาตรฐานต้องมีการทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้นก่อน ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain Name ก็จะยึดตามนั้นต่อไป เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐานอาจต้องใช้เวลา

สรุปบทที่ 3

สรุป คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล บทที่3

 องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
 มีองค์ประกอบพื้นฐาน 5หน่วยได้แก่
1.หน่วยรับเข้า ทำหน้าที่รับข้อมูล หรือคำสั่งต่างๆ จากผู้ใช้ผ่านอุปกรณ์รับข้อมูลซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งเข้าไปประมวลผลต่อไป
2.หน่วยประมวลผลกลาง หรือซีพียูเปรียบเสมือนสมองของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ประมวลผลคำสั่งที่รับเข้าไปซึ่งจะทำงานร่วมกับหน่วยอื่นๆ
3.หน่วยเก็บข้อมูล ทำหน้าที่เก็บข้อมูลแบบถาวรบนคอมพิวเตอร์
4.หน่วยความจำ ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่กำลังประมวล และเป็นที่พักข้อมูลระหว่างที่ซีพียูกำลังประมวลผล
5.หน่วย ส่งออก ทำหน้าที่แสดงหรือส่งข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลจากซีพียูมาให้ผู้ใช้งานรับ ทราบ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของการมองเห็นหรือการส่งเป็นสัญญาณเสียง
กลไกการทำงานของคอมพิวเตอร์
กลไกการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่เกิดจากองค์ประกอบต่างๆ  เริ่มด้วยเมื่อมีการกดปุ่มเครื่องคอมพิวเตอร์  โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่อยู่ในหน่วยความจำหลัก  จะทำการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อมที่จะทำงาน  เมื่อตรวจสอบเสร็จคอมพิวเตอร์จะแสดงให้เห็นว่าพร้อมที่จะทำงาน  ก็จะมีการป้อนคำสั่งหรือโปรแกรมหรือข้อมูลโดยผ่านหน่วยรับข้อมูล  แล้วนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก  ต่อจากนั้น หน่วยประมวลผลกลางก็จะทำการตามคำสั่งของโปรแกรมซึ่งเรียกว่า  การประมวลผล  แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้เก็บไว้ที่ หน่วยความจำ  และจะแสดงผลลัพธ์ผ่านหน่วยแสดงผลเมื่อมีคำสั่งให้แสดงผลลัพธ์
การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงาน
1.งานเอกสาร หรืองานในสำนักงาน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ซีพียูที่มีความเร็วสูง คือประมาณ1GB และอาจเลือกใช้จอภาพแบบLCDขนาดใหญ่ 17-19นิ้ว เพื่อถนอมสายตา
2.งานกราฟฟิก เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานประเภทนี้จำเป็นต้องใช้ซีพียูที่มีความเร็วค่อนข้างสูง ประมาณ2GHz ขึ้นไป ใช้แรมอย่างน้อย 2GBขึ้นไป และมีฮาร์ดดิสก์ความจุสูงเผื่อใช้เก็บข้อมูลจำนวนมาก
3.งานออก แบบที่ต้องแสดงผลเป็น 3มิติ งานประเภทนี้ต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการคำนวณและแสดงภาพ ความละเอียดสูงสุดได้ ดังนั้น ควรเลือกซีพียูที่มีความเร็วสูงไม่น้อยกว่า  2GHz มีแรมอย่างน้อย 4 GB การ์ดแสดงผลที่สามารถแสดงภาพที่มีความละเอียดสูงได้ดีควรใช้จอภาพขนาดไม่ต่ำกว่า 24นิ้ว และควรมีเครื่องสำรองไฟ

การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์

1.ซีพียู มีปัจจัยในการเลือกซื้อดังนี้
-บริษัทผู้ผลิต ในปัจจุบันมีบริษัทผู้ผลิตซีพียูชั้นนำ 2บริษัท คือ บริษัทอินเทล(Intel Corporation)และบริษัทเอเอ็มดี(Advance Micro Devices:AMD)
-ความ เร็วซีพียู ความเร็วของซีพียูขึ้นอยู่กับความถี่สัญญาณนาฬิกา ซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่คอยกำหนดจังหวะการทำงานประสานของวงจรภายในให้สอด คล้องกัน
-หน่วยความจำแคช ควรพิจารณาเลือกซีพียูที่มีหน่วยความจำแคสมาก
-ความ เร็วบัส คือความเร็วในการรับส่งข้อมูลระหว่างซีพียูและอุปกรณ์อื่นๆ ควรพิจารณาซีพียูที่มีความเร็วของบัสสูงและสอดคล้องกับความเร็วของอุปกรณ์ อื่น เช่น เมนบอร์ด และแรม

2.เมนบอร์ด มีปัจจัยในการเลือกซื้อดังนี้
-ซ็อกเกตซีพียู เมนบอร์ดแต่ละรุ่นถูกออกแบบมาให้ใช้กับซีพียูที่มีมาตรฐานของซ็อกเกตเดียวกันเท่านั้น ดังนั้นต้องเลือกรุ่นให้ตรงกัน
-ฟรอน ไซต์บัส เป็นบัสที่เชื่อมต่อระหว่างซีพียูกับหน่วยความจำ บัสนี้เป็นบัสที่มีความเร็วสูงที่สุดบนเมนบอร์ดความถี่ของฟรอนไซต์บัสเป็น ตัวกำหนดอัตราเร็วในการส่งข้อมูลระหว่างซีพียูกับอุปกรณ์อื่นๆ
-สล็อตและหน่วยความจำ ลักษณะของสล็อตความจำนั้นจะแตกต่างกันไปตามรุ่นต้องเลือกให้เหมาะสมกัน
-ช่องสำหรับติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆจำเป็นต้องคำนึงถึงจำนวนและชนิดช่องในการติดตั้งเมนบอร์ดแต่ละรุ่น
-ขั้วต่อ ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ภายในเคส
-พอร์ตเป็นช่องสำหรับหน่วยรับเข้า หน่วยแสดงผลรวมถึงอุปกรณ์สนับสนุน
-มาตรฐาน ของเมนบอร์ดถูกกำหนดอยู่ในรูปของฟอร์มแฟกเตอร์ ซึ่งแสดงถึงขนาดของเมนบอร์ดตำแหน่งของขั้วต่ออุปกรณ์ต่างๆขนาดของเมนบอร์ดจะ ต้องเข้ากันได้กับชนิดเคสที่ใช้

3.แรม มีปัจจัยในการเลือกซื้อดังนี้
-ประเภท ซื้อให้ตรงกับสลอตหน่วยความจำบนเมนบอร์ด
-ความจุ ถ้าใช้งานด้านกราฟฟิกหรือมัลติมีเดียระดับสูง จะใช้แรมที่มีความจุสูงตามไปด้วย
-ความเร็ว ต้องเลือกความเร็วของแรมให้สอดคล้องกับความเร็วบัสของเมนบอร์ดด้วย และเลือกให้เหมาะกับการใช้งาน

4.ฮาร์ดดิสก์ มีปัจจัยในการเลือกซื้อดังนี้
-การเชื่อมต่อ มาตรฐานการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้งานอยู่ในพีซีปัจจุบัน ใช้มาตรฐานEIDEและ SATA
-ความจุข้อมูล มีหน่วยเป็น กิกะไบต์หรือเทระไบต์ ซึ่งขนาดความจุของข้อมูลของฮาร์ดดิสก์นั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งาน
-ความเร็วรอบ ฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วรอบสูงจะทำให้มีอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลสูง
5.การ์ดแสดงผล มีปัจจัยการเลือกซื้อดังนี้
-ชิปประมวลผลกราฟฟิก หรือจีพียู
-การเชื่อมต่อ
-ความจุของหน่วยความจำบนการ์ด
6.ออปติคัลดิสก์ไดรฟ์ มีปัจจัยในการเลือกซื้อดังนี้
-ซีดีไดร์ฟ
-ดีวีดีไดร์ฟ
-ซีดีอาร์ดับบลิวไดรฟ์
-คอมโบไดรฟ์
-ดีวีดีอาร์ดับบลิวไดร์ฟ

7.เคส มีหลักในการเลือกซื้อคือ
-มีช่องระบายอากาศและระบบระบายความร้อน
-มีพื้นที่หรือช่องที่จะเพิ่มอุปกรณ์ได้
-ลักษณะของเคส

8.จอภาพ มีปัจจัยในการเลือกซื้อดังนี้
-ความละเอียดของภาพ
-ขนาด

การรับประกันอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์มีการรับประกันอายุการใช้งานแตกต่างกัน โดยอายุของการรับประกันที่นานขึ้นอาจจะทำให้ราคาสูงขึ้น บนอุปกรณ์บางชนิดจะมีสติ๊กเกอร์รับประกันติดอยู่ หากมีการฉีกขาดการรับประกันจะสิ้นสุดลงจึงควรระวังในการเลือกซื้อ
 ข้อแนะนำการดูแลอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
-ไม่เปิดฝาเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่จำเป็น
-ไม่ตั้งคอมพิวเตอร์ไว้ในที่มีอุณหภูมิสูง
-ไม่วางคอมพิวเตอร์ไว้ใกล้สนามแม่เหล็ก
-ไม่วางของเหลวไว้ใกล้เครื่อง
-ไม่ปิดเครื่องโดยการปิดสวิตช์
-ควรตั้งโหมดประหยัดพลังงานให้กับเครื่อง